Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: แปรรูปปลาร้าผงและว่านหางจระเข้อบกรอบ


Veteran Member

Status: Offline
Posts: 72
Date:
แปรรูปปลาร้าผงและว่านหางจระเข้อบกรอบ
Permalink   


แปรรูปปลาร้าผงและผลิตว่านหางจระเข้อบกรอบสร้างเศรษฐกิจชุมชน








ด้วยความคิดที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านประกอบกับความสามารถเฉพาะตัวในการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปไม่ให้ซ้ำแบบใครออกมาจำหน่าย และยังเป็นการป้องกันสินค้าล้นตลาด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่าง ๆ ในเขตจังหวัดชัยนาทจึงได้พยายามคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ออกมาดึงดูดความสนใจของลูกค้า

เช่นเดียวกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าน ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นอีกหนึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่ พยายามหาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น อันได้แก่ ปลา ซึ่งหาได้ง่ายเพราะอยู่ใกล้กับเขื่อนเจ้าพระยามาทำปลาร้าและแปรรูปเป็นปลาร้าผงออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน


นางสมใจ อยู่ชู ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าน เล่าให้ฟังว่า ได้เริ่มรวมกลุ่มจัดตั้งสมาชิกมาตั้งแต่ปี 2540 มีสมาชิก 13 คน แล้วระดมหุ้นกันระยะแรกทำปลาย่างรมควันออกจำหน่าย ทำมาได้สักพักก็ประสบปัญหาเนื่องจากการจับปลาในเขื่อนมีช่วงห้ามจับในฤดูวางไข่ คือ ช่วงเดือนธันวาคม – พฤษภาคม จึงไม่มีปลาออกขายอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยกันคิดกับสมาชิกในกลุ่มหาวิธีการผลิตสินค้าอย่างอื่นมาแทน โดยการรับซื้อปลาจากหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงมาทำปลาร้าสดจำหน่าย จนกระทั่งในปี 2541 มีส่วนราชการและองค์กรทางสังคมเข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาสังคม (ZIP) ในวงเงิน 170,000 บาท จัดตั้งเป็นโรงเรือน ค่าวัสดุอุปกรณ์ตู้แช่เย็นและให้เป็นทุนหมุนเวียนดำเนินการ ปี 2542 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงในการจัดซื้อตู้อบความร้อน จำนวน 1 ตู้ และปีเดียวกันนี้ได้รับเงินทุนหมุนเวียนแบบให้เปล่าจากโครงการถนอมอาหารปลาไทย-แคนาดาเกษตรอีก 20,000 บาท รวมทั้งได้ไปศึกษาดูงานยังสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดแนวความคิดที่จะผลิตปลาร้าอบแห้งขาย แต่เมื่อมีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อมอยู่แล้ว ประกอบกับมีผู้ผลิตปลาร้าหลายราย เลยเปลี่ยนความตั้งใจจากเดิมแล้วมองลู่ทางการผลิตและการตลาดใหม่ หันไปทำปลาร้าผงซึ่งในท้องถิ่นยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และเล็งเห็นว่าจะเป็นการสะดวกแก่ผู้บริโภคในการรับประทานสามารถพกพาได้ง่าย


สำหรับส่วนผสมในการทำปลาร้าผงจะใช้ปลาร้าปลาสร้อย 1 กิโลกรัม กระเทียม 2 ขีด หัวหอมแดง 2 ขีด และพริกแห้ง 1 ขีด วิธีทำเริ่มจากนำปลาร้ามาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หั่นหัวหอม กระเทียม และพริกแห้ง จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดเข้าตู้อบลมร้อนใช้ไฟประมาณ 100 องศาเซลเซียสอบนานประมาณ 8 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วอบอีก 8 ชั่วโมงจนแห้ง นำส่วนผสมทั้งหมดมาบดรวมกันในเครื่องบดจนละเอียด จากนั้นนำมาบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายขนาดหนัก 200 กรัม ขายส่ง 40 บาท ขายปลีก 50 บาท หากขายส่งเป็นกิโลกรัมคิดกิโลกรัมละ 170 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 200 บาท ส่วนวิธีการรับประทานนั้นให้นำปลาร้าผงที่สำเร็จแล้วใส่น้ำร้อนพอท่วม ละลายให้เข้ากันรับประทานกับผักชนิดต่าง ๆ ได้


นอกจากจะแปรรูปปลาร้าผงแล้ว สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มนี้ยังได้ผลิตว่านหางจระเข้อบกรอบอีกด้วย โดยไปรับซื้อว่านหางจระเข้ที่มีสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งปลูกแบบครบวงจรเพื่อผลิตแชมพูสมุนไพร มาแปรรูปเป็นขนมหวานโดยส่วนผสมที่ใช้ประกอบด้วย ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม น้ำ 1 แก้ว และน้ำหวานสีต่าง ๆ วิธีทำให้นำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เครื่องปั่นหรือเครื่องบดให้ละเอียด จากนั้นใส่หม้อแสตนเลสนำไปตั้งไว้บนเตาไฟ ใช้น้ำตาลทรายขาวละลายพร้อมน้ำหวานใส่ลงในหม้อที่มีเนื้อว่านอัตราส่วน 1 : 1 ตั้งไฟเคี่ยวจนเป็นยางเหนียวข้น ยกเทลงใส่ถาดเกลี่ยให้เสมอกันทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้มีดบางที่มีความคมตัดเป็นก้อนเล็ก ๆ นำไปใส่ตู้อบใช้อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียสอบนานราว ๆ 3 ชั่วโมง เสร็จแล้วบรรจุถุงพลาสติกปิดผนึกเพื่อป้องกันความชื้นจะสามารถเก็บรักษาได้นานหลายเดือนโดยไม่ต้องใส่สารกันบูด ราคาจำหน่ายกล่องละ 100 กรัม ขายกล่องละ 10 บาท หากขายส่งเป็นกิโลกรัม ๆ ละ 80 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 100 บาท และยังมีการผลิตกล้วยอบสมุนไพรต่าง ๆ จำหน่ายอีกนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว


ในด้านการตลาดนั้น นางสมใจ บอกว่า จะมีพ่อค้าเข้ามาสั่งและรับซื้อถึงที่และบางครั้งก็นำไปออกร้านช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ ของจังหวัด และที่ศูนย์ประกอบการผู้สูงอายุเขาท่าพระ ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเหล่านี้ได้มีการจัดสรรโดยแบ่งให้ผู้ผลิต 80% เป็นของผู้ถือหุ้น 10% เป็นของหมู่บ้าน 5% และใช้บริหารจัดการกลุ่ม 5% เนื่องจากทางกลุ่มได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในหมู่บ้านเข้ามาร่วมถือหุ้นได้ เมื่อมีการผลิตไม่ทันจำหน่ายก็จะจ้างคนในหมู่บ้านเข้ามาช่วยโดยจ่ายเป็นค่าแรงให้วันละ 70 บาท ทำให้สมาชิกมีรายได้คนละประมาณ 2,000 – 3,000 บาทต่อเดือน


ปัจจุบันทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าน กำลังดำเนินการขอการรับรองมาตรฐาน อย. จากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้สินค้าสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ เนื่องจากมีผู้แทนจำหน่ายจากภาคเอกชนให้ความสนใจมาติดต่อสั่งซื้อหลายราย หากประสบผลสำเร็จก็จะมีการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกไม่น้อย จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งก็จะก่อให้เกิดพลังความคิดในการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน สนใจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวติดต่อได้ที่ประธานกลุ่มโดยตรง โทร. 01 – 7406676 หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท โทร. 0-56499158



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

bleh086ที่เหลือหาเองevileyeconfuseadmin wrote:


แปรรูปปลาร้าผงและผลิตว่านหางจระเข้อบกรอบสร้างเศรษฐกิจชุมชน


ด้วยความคิดที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านประกอบกับความสามารถเฉพาะตัวในการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปไม่ให้ซ้ำแบบใครออกมาจำหน่าย และยังเป็นการป้องกันสินค้าล้นตลาด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่าง ๆ ในเขตจังหวัดชัยนาทจึงได้พยายามคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ออกมาดึงดูดความสนใจของลูกค้า

เช่นเดียวกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าน ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นอีกหนึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่ พยายามหาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น อันได้แก่ ปลา ซึ่งหาได้ง่ายเพราะอยู่ใกล้กับเขื่อนเจ้าพระยามาทำปลาร้าและแปรรูปเป็นปลาร้าผงออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน

นางสมใจ อยู่ชู ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าน เล่าให้ฟังว่า ได้เริ่มรวมกลุ่มจัดตั้งสมาชิกมาตั้งแต่ปี 2540 มีสมาชิก 13 คน แล้วระดมหุ้นกันระยะแรกทำปลาย่างรมควันออกจำหน่าย ทำมาได้สักพักก็ประสบปัญหาเนื่องจากการจับปลาในเขื่อนมีช่วงห้ามจับในฤดูวางไข่ คือ ช่วงเดือนธันวาคม พฤษภาคม จึงไม่มีปลาออกขายอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยกันคิดกับสมาชิกในกลุ่มหาวิธีการผลิตสินค้าอย่างอื่นมาแทน โดยการรับซื้อปลาจากหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงมาทำปลาร้าสดจำหน่าย จนกระทั่งในปี 2541 มีส่วนราชการและองค์กรทางสังคมเข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาสังคม (ZIP) ในวงเงิน 170,000 บาท จัดตั้งเป็นโรงเรือน ค่าวัสดุอุปกรณ์ตู้แช่เย็นและให้เป็นทุนหมุนเวียนดำเนินการ ปี 2542 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวงในการจัดซื้อตู้อบความร้อน จำนวน 1 ตู้ และปีเดียวกันนี้ได้รับเงินทุนหมุนเวียนแบบให้เปล่าจากโครงการถนอมอาหารปลาไทย-แคนาดาเกษตรอีก 20,000 บาท รวมทั้งได้ไปศึกษาดูงานยังสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดแนวความคิดที่จะผลิตปลาร้าอบแห้งขาย แต่เมื่อมีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อมอยู่แล้ว ประกอบกับมีผู้ผลิตปลาร้าหลายราย เลยเปลี่ยนความตั้งใจจากเดิมแล้วมองลู่ทางการผลารตลาดใหม่ หันไปทำปลาร้าผงซึ่งในท้องถิ่นยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และเล็งเห็นว่าจะเป็นการสะดวกแก่ผู้บริโภคในการรับประทานสามารถพกพาได้ง่าย

สำหรับส่วนผสมในการทำปลาร้าผงจะใช้ปลาร้าปลาสร้อย 1 กิโลกรัม กระเทียม 2 ขีด หัวหอมแดง 2 ขีด และพริกแห้ง 1 ขีด วิธีทำเริ่มจากนำปลาร้ามาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หั่นหัวหอม กระเทียม และพริกแห้ง จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดเข้าตู้อบลมร้อนใช้ไฟประมาณ 100 องศาเซลเซียสอบนานประมาณ 8 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วอบอีก 8 ชั่วโมงจนแห้ง นำส่วนผสมทั้งหมดมาบดรวมกันในเครื่องบดจนละเอียด จากนั้นนำมาบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายขนาดหนัก 200 กรัม ขายส่ง 40 บาท ขายปลีก 50 บาท หากขายส่งเป็นกิโลกรัมคิดกิโลกรัมละ 170 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 200 บาท ส่วนวิธีการรับประทานนั้นให้นำปลาร้าผงที่สำเร็จแล้วใส่น้ำร้อนพอท่วม ละลายให้เข้ากันรับประทานกับผักชนิดต่าง ๆ ได้

นอกจากจะแปรรูปปลาร้าผงแล้ว สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มนี้ยังได้ผลิตว่านหางจระเข้อบกรอบอีกด้วย โดยไปรับซื้อว่านหางจระเข้ที่มีสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งปลูกแบบครบวงจรเพื่อผลิตแชมพูสมุนไพร มาแปรรูปเป็นขนมหวานโดยส่วนผสมที่ใช้ประกอบด้วย ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม น้ำ 1 แก้ว และน้ำหวานสีต่าง ๆ วิธีทำให้นำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เครื่องปั่นหรือเครื่องบดให้ละเอียด จากนั้นใส่หม้อแสตนเลสนำไปตั้งไว้บนเตาไฟ ใช้น้ำตาลทรายขาวละลายพร้อมน้ำหวานใส่ลงในหม้อที่มีเนื้อว่านอัตราส่วน 1 : 1 ตั้งไฟเคี่ยวจนเป็นยางเหนียวข้น ยกเทลงใส่ถาดเกลี่ยให้เสมอกันทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้มีดบางที่มีความคมตัดเป็นก้อนเล็ก ๆ นำไปใส่ตู้อบใช้อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียสอบนานราว ๆ 3 ชั่วโมง เสร็จแล้วบรรจุถุงพลาสติกปิดผนึกเพื่อป้องกันความชื้นจะสามารถเก็บรักษาได้นานหลายเดือนโดยไม่ต้องใส่สารกันบูด ราคาจำหน่ายกล่องละ 100 กรัม ขายกล่องละ 10 บาท หากขายส่งเป็นกิโลกรัม ๆ ละ 80 บาท ขายปลีกกิโลกรัมละ 100 บาท และยังมีการผลิตกล้วยอบสมุนไพรต่าง ๆ จำหน่ายอีกนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว

ในด้านการตลาดนั้น นางสมใจ บอกว่า จะมีพ่อค้าเข้ามาสั่งและรับซื้อถึงที่และบางครั้งก็นำไปออกร้านช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ ของจัด และที่ศูนย์ประกอบการผู้สูงอายุเขาท่าพระ ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเหล่านี้ได้มีการจัดสรรโดยแบ่งให้ผู้ผลิต 80% เป็นของผู้ถือหุ้น 10% เป็นของหมู่บ้าน 5% และใช้บริหารจัดการกลุ่ม 5% เนื่องจากทางกลุ่มได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในหมู่บ้านเข้ามาร่วมถือหุ้นได้ เมื่อมีการผลิตไม่ทันจำหน่ายก็จะจ้างคนในหมู่บ้านเข้ามาช่วยโดยจ่ายเป็นค่าแรงให้วันละ 70 บาท ทำให้สมาชิกมีรายได้คนละประมาณ 2,000 3,000 บาทต่อเดือน

ปัจจุบันทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าน กำลังดำเนินการขอการรับรองมาตรฐาน อย. จากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้สินค้าสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ เนื่องจากมีผู้แทนจำหน่ายจากภาคเอกชนให้ความสนใจมาติดต่อสั่งซื้อหลายราย หากประสบผลสำเร็จก็จะมีการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกไม่น้อย จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งก็จะก่อให้เกิดพลังความคิดในการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน สนใจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวติดต่อได้ที่ประธานกลุ่มโดยตรง โทร. 01 7406676 หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท โทร. 0-56499158



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard