Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ข้าวอินทรีย์คืออะไร


Veteran Member

Status: Offline
Posts: 72
Date:
ข้าวอินทรีย์คืออะไร
Permalink   


ข้าวอินทรีย์คืออะไร


     ข้าวอินทรีย์เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆและปุ๋ยเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต โดยเกษตรกรสามารถใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสารสกัดต่าง ๆ จากพืชที่ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตผลข้าวมีคุณภาพดี


 


หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการทำอย่างไร


     1. พื้นที่ปลูก เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ติดต่อกัน หากเป็นพื้นที่ใช้สารเคมีมาก่อนควรตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดิน



พื้นที่ปลูก


     2. พันธุ์ข้าว มีคุณภาพดีเช่นพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เจริญเติบโตและผลผลิตดี



พันธุ์ข้าว


     3. เมล็ดพันธุ์ ได้จากการปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ ไม่คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เมล็ดสะอาดปราศจากโรคแมลง และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในกรณีที่ปลูกปีแรกและไม่สามารถหาเมล้ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ได้ อนุญาตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปกติ


     4. การเตรียมดิน ไถดะไถแปร ตากแดดไม่ใช้สารควบคุมวัชพืช



การเตรียมดิน


     5. วิธีปลูก ควรพิจารณาสภาพพื้นที่และการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าการปลูกโดยวิธีปักดำและหว่านข้าวแห้งเป้นวิธีการที่เหมาะสม


     6. การจัดการดิน ไม่เผาฟางข้าวและตอซังควรไถกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน


     7. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้อินทรียวัตถุ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ที่เกษตรกรทำเองในพื้นที่นาหรือบริเวณบ้าน


     8. การจัดการน้ำ ตามระยะเวลาเจริญเติบโตของต้นข้าว


     9. จัดระบบการปลูกพืชในนาข้าว ปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว


     10. การควบคุมวัชพืช โดยการเตรียมดินอย่างดี



การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน



การไถกลบ


     11. การควบคุมศัตรูพืช การใช้วิธีเขตกรรม ใช้พันธุ์ต้านทาน กำหนดช่วงปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสมและการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรชีวิต เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชในนาข้าว



วัชพืชและศัตรูพืช


     12. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บเกี่ยวในระยะพลับพลึงเป็นช่วงที่เหมาะสม และนวดลดความชื้นทำความสะอาดเมล็ด


     13. การเก็บรักษาผลผลิต ควรแยกจากข้าวธรรมดา ตากแดด ลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ และเก็บรักษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ในยุ้งฉางเฉพาะไม่ปะปนกับข้าวธรรมดา ควรเก็บข้าวอินทรียืในรูปของข้าวเปลือก แปรสภาพเป็นข้าวกล้องหรือข้าวสารตามที่ต้องการ


     14. การแปรสภาพข้าว จากข้าวเปลือกอินทรีย์เป็นข้าวสาร โดยใช้เครื่องสีสำหรับการสีข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ หากจำเป็นต้องใช้โรงสีแปรสภาพข้าวอินทรีย์ร่วมกับข้าวธรรมดา ควรทำความสะอาดเครื่องสี และ/หรือแปรสภาพข้าวอินทรีย์ก่อนข้าวธรรมดา



การเก็บเกี่ยวผลผลิต



__________________


Veteran Member

Status: Offline
Posts: 72
Date:
Permalink   

15. การบรรจุหีบห่อ บรรจุในถุงพลาสติกขนาด 1 – 5 กิโลกรัม โดยใช้วิธีอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซดืหรือก๊าซเฉื่อย หรือสูญญากาศ


การบรรจุหีบห่อ


     การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการผลิตที่เป็นระบบและต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบการปฏิบัติและคุณภาพผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องมีการปฏิบัติ ดูแลไร่นาอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูการผลิตและเกษตรกรควรหาความรู้ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลาดข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ การผลิตข้าวอินทรีย์จึงต้องมีการตรวจสอบรับรองระบบการผลิต ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์


     มาตรการกำกับดูแล ตรวจสอบคุณภาพและการรับรองผลผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นการกำกับดูแลให้การผลิตข้าวอินทรีย์ในทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานทั้งระบบการผลิตและคุณภาพของผลผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้าวอินทรีย์ที่วางขายหรือผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่าเป็น อินทรีย์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่แท้จริงในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค



ตราสัญลักษณ์ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของประเทศไทย


 การยื่นคำขอรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ได้ที่ไหน


ปัจจุบันเกษตรกรและผู้ผลิตสามารถยื่นคำขอรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ได้จาก 3 องค์กรดังต่อไปนี้


1. กรมวิชาการเกษตร


     เป็นผู้ออกใบรับรองการการผลิตข้าวอินทรีย์ในนามหน่วยงานของรัฐบาล ผู้ประสงค์จะได้รับใบรับรองต้องยื่นคำขอหนังสือรับรองได้ที่สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-7520 กรอกใบสมัครตามแบบที่กำหนด กรมวิชาการเกษตร


2. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)


       เป็นหน่วยงานเอกชนผู้ออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ผู้ประสงค์จะได้ใบรับรองให้ติดต่อไปที่ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เลขที่ 801/8 ซ.งามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี โทร. 0-2580-0934


3. หน่วยงานตรวจสอบรับรองของต่างประเทศ


ปัจจุบัน มีหน่วยงานตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ของต่างประเทศที่มาดำเนินกิจการในประเทศไทย คือ


1. บริษัท OMIC จำกัด โทร. 0-2288-4120-3
2. บริษัท P&S AGRO CONTROL จำกัด โทร. 0-2361- 1910
3. บริษัท BCS จำกัด โทร. 0-5322-0863
4. บริษัท BIOAGRICERT โทร.0-2619-5353

        เรียบเรียง สมคิด โพธิ์พันธุ์   สุพจน์ ชัยวิมล   กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์   ส่วนส่งเสริมและบริการพัฒนาคุณภาพสินค้า   สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร   กรมส่งเสริมการเกษตร   ที่ปรึกษา ดร.ทวี คุปต์กาญจนากุล สถาบันวิจัยข้าว   ไพฑูรย์ พูลสวัสดิ์ กรมวิชาการเกษตร   ศิลปกรรม จักรพงษ์ พุทธทอง

-- Edited by admin at 23:37, 2005-05-23

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

admin wrote:

ข้าวอินทรีย์คืออะไร


ข้าวอินทรีย์เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆและปุ๋ยเคมีในทุกขั้นตอนการผลิต โดยเกษตรกรสามารถใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสารสกัดต่าง ๆ จากพืชที่ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตผลข้าวมีคุณภาพดี




หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการทำอย่างไร


1. พื้นที่ปลูก เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ติดต่อกัน หากเป็นพื้นที่ใช้สารเคมีมาก่อนควรตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดิน


01.jpg
พื้นที่ปลูก


2. พันธุ์ข้าว มีคุณภาพดีเช่นพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เจริญเติบโตและผลผลิตดี


02.jpg
พันธุ์ข้าว


3. เมล็ดพันธุ์ ได้จากการปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ ไม่คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เมล็ดสะอาดปราศจากโรคแมลง และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในกรณีที่ปลูกปีแรกและไม่สามารถหาเมล้ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ได้ อนุญาตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปกติ


4. การเตรียมดิน ไถดะไถแปร ตากแดดไม่ใช้สารควบคุมวัชพืช


03.jpg
การเตรียมดิน


5. วิธีปลูก ควรพิจารณาสภาพพื้นที่และการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าการปลูกโดยวิธีปักดำและหว่านข้าวแห้งเป้นวิธีการที่เหมาะสม


6. การจัดการดิน ไม่เผาฟางข้าวและตอซังควรไถกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน


7. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้อินทรียวัตถุ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ที่เกษตรกรทำเองในพ>8. การจัดการน้ำ ตามระยะเวลาเจริญเติบโตของต้นข้าว


9. จัดระบบการปลูกพืชในนาข้าว ปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว


10. การควบคุมวัชพืช โดยการเตรียมดินอย่างดี


04.jpg
การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน


05.jpg
การไถกลบ


11. การควบคุมศัตรูพืช การใช้วิธีเขตกรรม ใช้พันธุ์ต้านทาน กำหนดช่วงปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสมและการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรชีวิต เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชในนาข้าว


06.jpg
วัชพืชและศัตรูพืช


12. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บเกี่ยวในระยะพลับพลึงเป็นช่วงที่เหมาะสม และนวดลดความชื้นทำความสะอาดเมล็ด


13. การเก็บรักษาผลผลิต ควรแยกจากข้าวธรรมดา ตากแดด ลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ และเก็บรักษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ในยุ้งฉางเฉพาะไม่ปะปนกับข้าวธรรมดา ควรเก็บข้าวอินทรียืในรูปของข้าวเปลือก แปรสภาพเป็นข้าวกล้องหรือข้าวสารตามที่ต้องการ


14. การแปรสภาพข้าว จากข้าวเปลือกอินทรีย์เป็นข้าวสาร โดยใช้เครื่องสีสำหรับการสีข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ หากจำเป็นต้องใช้โรงสีแปรสภาพข้าวอินทรีย์ร่วมกับข้าวธรรมดา ควรทำความสะอาดเครื่องสี และ/หรือแปรสภาพข้าวอินทรีย์ก่อนข้าวธรรมดา


07.jpg
การเก็บเกี่ยวผลผลิต







__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard